- เป็นการใช้กล้องส่องเข้าไปในปาก ผ่านหลอดอาหารลงไปในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
- การส่องกล้องตรวจจะทำในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการดังนี้
- กลืนติด กลืนลำบาก
- อาเจียนเป็นเลือด
- ปวดท้องจุกแน่นลิ้นปี่ ที่รักษาด้วยยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการร่วมที่สงสัยมะเร็ง
- ผู้ป่วยที่มีอาการกรดไหลย้อน ที่รักษาแล้วอต่อาการไม่ดีชั้น
การส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น
- ประโยชน์ที่จะได้จากการส่องกล้อง
- สามารถตรวจวินิจฉัย ประเมินและรักษาโรคของหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เช่นการตีบ การอักเสบ เป็นแผล การเป็นมะเร็งและภาวะเลือดออก โดยสามารถตัดเนื้อเยื่อหรือทำให้เลือดหยุดจากการส่องกล้องตรวจได้
- ขั้นตอนและวิธีการตรวจ
- งดน้ำและอาหารก่อนการตรวจ 4-6 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้อาหารมากีดขวางการมองเห็น และป้องกันการลำลักในระหว่างตรวจ
- ถ้ามีฟันปลอม ควรต้องเอาออกไปด้วย
- จากนั้นจะพ่นยาชาในปาก เพื่อลดความรู้สึกระคายเคืองในคอในระหว่างและหลังการส่องกล้อง แล้วส่องกล้องโดยแพทย์ใช้เวลาในการตรวจไม่นาน ราว 10-15 นาที
- หลังส่องกล้องเสร็จ ผู้ป่วยควรงดทานอาหารทางปาก จนกระทั่งคอหายชาก่อน ถึงเริ่มรับประทานอาหารได้ ไม่ควรเริ่มเป็นอาหารที่เย็นหรือร้อนมากจนเกินไป
- ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้
- ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดอืดแน่นท้อง แต่อาการจะทุเลาลงเร็วใน 6-8 ชั่วโมง
- ภาวะเลือดออกจากการส่องกล้อง พบได้น้อยมาก มักเกิดในกรณีที่ต้องตัดชิ้นเนื้อขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถหยุดยาละลายลิ่มเลือดก่อนการตรวจได้